เภสัชกร ( Pharmacists) คือผู้ที่มีวิชาชีพทาง ด้านสาธารณสุข (health profession) มีหน้าที่จ่ายยา ให้ผู้ป่วย และเป็นผู้ผลิตยา เภสัชกรจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถหลายสาขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคลินิก โรงพยาบาล และเภสัชชุมชนซึ่งจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทางเลือกหนึ่งของวิชาชีพเภสัชกรคือการปฏิบัติงานในร้านขายยาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของร้านเอง (small business) ในงานด้านนี้เภสัชกรนอกจากจะมีความชำนาญในธุรกิจร้านค้าแล้วยังมีความรู้และข้อมูลการใช้ยาทั้ประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยาตลอดจนการให้ข้อมูลความรู้ให้คำปรึกษาการใช้ยาแก่ชุมชนด้วย เภสัชกรบางครั้งเรียกว่านักเคมี เพราะในอดีตมีการให้ผู้สำเร็จการศึกษาเภสัชกรรม(PharmaceuticalChemistry(PhC)) มาเป็นเภสัชกรซึ่งเรียกกันว่านักเคมีเภสัชกรรม ("Pharmaceutical Chemists") โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ เช่น เครือข่ายร้านขายยาของบู๊ตส์เรียกเภสัชกรของบู๊ตส์ว่า"นักเคมีบูตส์" ('Boots The Chemist')
* คุณสมบัติ ของเภสัชกร
* หลักสูตรการเรียนเภสัชศาสตร์
* การจดทะเบียนเป็นเภสัชกร* หน้าที่ของเภสัชกร* สาขาวิชาชีพเภสัชกรรม* เภสัชกรรม
สัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรม
มีความแตกต่างไปตามสถานที่และภูมิภาค เภสัชกรรมนั้นๆ สัญลักษณ์สากลทั่วไปสำหรับเภสัชกรรมคือโกร่งบดยาและเรซิพี เภสัชกรรมในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษมักใช้โชว์โกลบซึ่งเป็นโคมไฟ แขวนเป็นสัญลักษณ์ของร้านยาในสมัยโบราณ ปัจจุบันองค์กรทางเภสัชกรรมทั่วไปโลกใช้สัญลักษณ์สากลสำคัญได้แก่ ถ้วยตวงยา ถ้วยยาไฮเกีย และคทางูไขว้ แต่ในภูมิภาคหรือบางประเทศมีสัญลักษณ์ทางเภสัชกรรมท้องถิ่น อาทิ ประเทศฝรั่งเศส อาร์เจนตินา สหราชอาณาจักร เบลเยี่ยม และอิตาลีใช้สัญลักษณ์กากบาทเขียว ในประเทศเยอรมนีและออสเตรียใช้สัญลักษณ์คล้ายอักษร A ในภาษาอังกฤษซึ่งย่อมาจากคำว่า Apotheke ในภาษาเยอรมัน และในประเทศไทยใช้เฉลวเป็นสัญลักษณ์ของเภสัชกรรมไทย
เภสัชกรรม (Pharmacy) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการเตรียมเครื่องยา ตัวยาจากธรรมชาติหรือการสังเคราะห์ให้เป็นยาสำเร็จรูป[1] นอกจากการปรุงยาแล้วนั้น เภสัชกรรมยังครอบคลุมถึงด้านการบริบาลทางยาแก่ผู้ป่วย อาทิ การพิจารณายาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย การประเมินและทบทวนการใช้ยา การติดตามผลข้างเคียงจากการใช้ยา รวมไปถึงการกระจายยา การเก็บรักษายาที่ถูกต้องเหมาะสม และการบริหารเภสัชกิจ และเป็นที่ปรึกษาด้านยาแก่บุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
ปัจจุบันวิชาชีพเภสัชกรรมมีการแพร่ไปยังประเทศต่างๆกว่า 50 ประเทศทั่วโลก และมีองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลกในการควบ คุม วิจัย และปรึกษาทางเภสัชกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยในการรับการบริบาลทางยา
เภสัชกรรมเป็นศาสตร์ที่กำเนิดควบคู่มาพร้อมกับวิวัฒนาการของมนุษย์แต่ ครั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์สมัยนั้นเลียนแบบสัตว์ป่าและธรรมชาติในการรักษาและเยียวยาตนเอง การลองผิดลองถูกของมนุษย์โบราณทำให้เกิดการสั่งสมองค์ความรู้สืบมากจากรุ่น สู่รุ่น ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ อาณาจักรเมโสโป เตเมียมีการบันทึกเภสัชตำรับฉบับแรกของ โลก ในอียิปต์โบราณมีการค้นพบหลักฐานทางเภสัชกรรมสำคัญคือ "ปาปิรุสอีเบอร์" เมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นหลักฐานการรวบรวมยาในสมัยนั้นกว่า 800 ขนาน
ในประเทศไทยมีการศึกษาเภสัชกรรมในแบบตะวันตกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ปรุงยา (ปัจจุบันคือคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)ขึ้น โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระองค์จึงได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมไทย ภายหลังการจัดตั้งกองโอสถศาลา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้งเภสัชกรรมสมาคมแห่งกรุงสยาม และการจัดตั้งองค์การเภสัชกรรมขึ้นโดยเภสัชกร ดร. ตั้ว ลพานุกรม แม้กระนั้น ความรู้ทางเภสัชกรรมไม่ได้เป็นที่สนใจของประชาชนนัก จนกระทั่งเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง การผลิตยาภายในประเทศไม่เพียงพอ จึงทำให้ศาสตร์นี้เริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนมากขึ้น และมีการจัดตั้งสถานศึกษาทางเภสัชศาสตร์เพิ่มเติมในเวลาต่อมา * สัญลักษณ์ของเภสัชกรรมไทย
สาขาวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาวิชาชีพเภสัชกรรมพอจำแนกได้ดังนี้:
* เภสัชกรคลินิก Clinical pharmacist
* เภสัชกรชุมชน Community pharmacist
* เภสัชกรโรงพยาบาล Hospital pharmacist
* เภสัชกรที่ ปรึกษาการใช้ยา Consultant pharmacist
* เภสัชกร สุขภาพอนามัยทางบ้าน Home Health pharmacist
* เภสัชกรบริหาร ข้อมูลยา Drug information pharmacist
* เภสัชกรสารวัตรยา Regulatory-affairs pharmacist
* เภสัชกรอุตสาหกรรม Industrial pharmacist
* อาจารย์เภสัชกร Academic pharmacist
หน้าที่ของเภสัชกรส่วนมากเภสัชกรจะพบกับผู้ป่วยในจุดแรกด้วยการสอบถามปัญหาเกี่ยวกับ สาธารณะสุขพื้นฐานโดยเฉพาะเกี่ยวกับยา การใช้ยา ผลข้างเคียงของยา ฯลฯ ดังนั้นหน้าที่ของเภสัชกรจึงคอนข้างกว้างซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. บริหารงานเกี่ยวกับการใช้ยาในทางคลินิก (clinical medication management)
2. การเฝ้าติดตามสถานการณ์ของโรคเฉพาะ (specialized monitoring) ที่เกี่ยวกับยาและผลของยาทั้งโรคธรรมดาและซับซ้อน
3. ทบทวนการใช้ยาอย่างละเอียดถี่ถ้วน (reviewing medication regimens)
4. ติดตามการรักษาโรคอย่างต่อเนื่อง (monitoring of treatment regimens)
5. ติดตามดูแลสุขภาพอนามัยทั่วไปของผู้ป่วย (general health monitoring)
6. ปรุงยา (compounding medicines)
7. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยทั่วไป (general health advice)
8. ให้การศึกษาแก่ผู้ป่วยเป็นการเฉพาะ (specific education) เกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคและการรักษาด้วยยา
9. ตรวจสอบเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจ่ายยา (dispensing medicines)
10. ดูแลจัดเตรียม(provision)ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์(non-prescription medicines)
11. ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ป่วยถึงการใช้ยาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด(optimal use of medicines)
12. แนะนำและรักษาโรคพื้นๆทั่วไป(common ailments)
13. ส่งต่อผู้ป่วยไปยังวิชาชีพสาธารณะสุขอื่นที่ตรงกับโรคของผู้ป่วยมากกว่า ถ้าจำเป็น
14. จัดเตรียมปริมาณยา (dosing drugs) ในผู้ป่วยตับและไตล้มเหลว
15. ประเมินผลการเคลื่อนไหวของยาในผู้ป่วย (pharmacokinetic evaluation)
16. ให้การศึกษาแก่แพทย์ (education of physicians) เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้อง
17. ร่วมกับวิชาชีพทางด้ายสาธารณะสุขอื่นในการสั่งยา (prescribing medications) ให้คนไข้ในบางกรณี
18. ดูแล จัดเตรียม จัดหา และรักษาเภสัชภัณฑ์ให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน (pharmaceutical care)
การจดทะเบียนเป็นเภสัชกรเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาแก่ประชาชนทั่วไป ประเทศต่าง ๆ จึงได้กำหนดบุคคลที่จะมาเป็นเภสัชกรจะต้องถูกฝึกอบรมมาอย่างถูกต้องและพอ เพียงโดยการจดทะเบียน ซึ่งผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนจะต้องมีคุณสมบัติและผ่านการสอบ ดังนี้
1. ประเทศไทย ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์ และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร ต้องผ่านการสอบรับใบ อนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรม ก่อน
2. ประเทศอังกฤษ ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องฝึกงานทางด้านเภสัชกรรมอย่างน้อย 1 ปี ก่อนสอบรับใบอนุญาตจากสมาคมเภสัชกรรม อังกฤษ (Royal Pharmaceutical Society of Great Britain)
3. สหรัฐอเมริกา ผู้ที่ผ่านการศึกษาเภสัชศาสตร์และต้องการจะได้รับการจดทะเบียนเป็นเภสัชกร จะต้องการสอบ 2 ด่าน ดังนี้
* การสอบแนปเพลกซ์ (North American Pharmacist Licensure Examination-NAPLEX)
* การสอบแนบพ์ (National Association of Boards of Pharmacy-NABP)
หลักสูตรมาตรฐานที่ใช้เรียนในคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีดังนี้ 1. เภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutics)
2. เคมีเภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutical chemistry) หรือเคมีเวชภัณฑ์ (Medicinal chemistry)
3. เภสัชวิทยา (Pharmacology)
4. จุลชีววิทยา (Microbiology)
5. เคมี (chemistry)
6. ชีวเคมี (Biochemistry)
7. เภสัชพฤกษศาสตร์ (Pharmaceutical Botany)
8. เภสัชวินิจฉัย (Pharmacognosy)
9. เภสัชอุตสาหกรรม (Industrial Pharmacy)
10. สรีรวิทยา (Physiology)
11. กายวิภาคศาสตร์ (anatomy)
12. อาหารเคมี (Foods Science)
13. เภสัชกรรม (Pharmacy)
14. กฎหมายยา (pharmacy law)
15. เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
16. ไตวิทยา (nephrology)
17. ตับวิทยา (hepatology)
18. ปฏิบัติการ เภสัชกรรม (Pharmacy practice) ประกอบด้วย ปฏิกิริยาระหว่างยา, การติดตามผลการใช้ยา (medicine monitoring) การบริหารการใช้ยา (medication management) 19. บริบาลเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)บูรณาการด้านการใช้ยากับผู้ป่วย และดูแลติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
คุณสมบัติของเภสัชกร1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาเภสัชศาสตร์
2. มีสุขภาพกายและจิตดี ไม่พิการ ไม่ตาบอดสี มีมนุษย์สัมพันธ์ มีความเป็นผู้นำเพราะอาจทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะในงานการผลิต มีบุคลิกภาพดี
3. รักในอาชีพ มีความรับผิดชอบสูง
4. มีความสนใจในวิชาวิทยาศาสคร์ เคมีชีววิทยา และสอบได้คะแนนดีในวิชาเหล่านี้
5. ชอบค้นคว้า ทดลอง ใช้ปัญญาในการวิเคราะห์
6. ละเอียด รอบคอบ ช่างสังเกต
7. มีความซื่อสัตย์
8. ชอบการท่องจำ เพราะต้องจำชนิด ส่วนประกอบของยา ชื่อยาและชื่อสารเคมีในการรักษาโรค ชื่อและประโยชน์ของต้นไม้ที่มียา
ความต้องการขั้นพื้นฐานสำหรับการจดทะเบียน (registration) เป็นเภสัชกรรับอนุญาตจะต้องเป็น ผู้ที่เรียนจบจากคณะเภสัชศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งจะได้รับปริญญาดังนี้
* เภสัชศาสตร บัณฑิต(ภบ) (Bachelor of Pharmacy (BPharm))
* เภสัชศาสตร มหาบัณฑิต(ภม) (Master of Pharmacy (MPharm))
* เภสัช บริบาลศาสตรบัณฑิต (ภบ.บ.) หรือ เภสัชศาสตร บัณฑิต(ภบ) (บริบาลเภสัชกรรม) (Doctor of Pharmacy (PharmD))
ระยะเวลาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษาจแตกต่างในแต่ละประเทศดังนี้
1. ประเทศไทยใช้เวลา 5 ปี ได้ ภบ (BPharm) หรือเรียน 6 ปี ได้ ภบบ (PharmD)
2. สหภาพยุโรป (European Union) รวมถึงสหราชอาณาจักร เดิมเรียน 4 ปีได้ ภบ (BPharm) ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยเรียน 4 ปี ได้ ภม (MPharm) เลย
3. ประเทศออสเตรเลียใช้เวลา 4 ปี ได้ ภบ (BPharm) ต่ออีก 2 ปีได้ ภม (MPharm)
4. สหรัฐอเมริกาใช้เวลา 4 ปี ได้ ภบ (BPharm) ต่ออีก 2 ปีได้ ภบบ (PharmD) มีฐานะเทียบเท่า พบ (medical doctor (MD))