วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

เภสัชกรรม

เภสัชกรรม (Pharmacy) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการเตรียมเครื่องยา ตัวยาจากธรรมชาติหรือการสังเคราะห์ให้เป็นยาสำเร็จรูป[1] นอกจากการปรุงยาแล้วนั้น เภสัชกรรมยังครอบคลุมถึงด้านการบริบาลทางยาแก่ผู้ป่วย อาทิ การพิจารณายาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย การประเมินและทบทวนการใช้ยา การติดตามผลข้างเคียงจากการใช้ยา รวมไปถึงการกระจายยา การเก็บรักษายาที่ถูกต้องเหมาะสม และการบริหารเภสัชกิจ และเป็นที่ปรึกษาด้านยาแก่บุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
ปัจจุบันวิชาชีพเภสัชกรรมมีการแพร่ไปยังประเทศต่างๆกว่า 50 ประเทศทั่วโลก และมีองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลกในการควบ คุม วิจัย และปรึกษาทางเภสัชกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยในการรับการบริบาลทางยา
เภสัชกรรมเป็นศาสตร์ที่กำเนิดควบคู่มาพร้อมกับวิวัฒนาการของมนุษย์แต่ ครั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์สมัยนั้นเลียนแบบสัตว์ป่าและธรรมชาติในการรักษาและเยียวยาตนเอง การลองผิดลองถูกของมนุษย์โบราณทำให้เกิดการสั่งสมองค์ความรู้สืบมากจากรุ่น สู่รุ่น ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ อาณาจักรเมโสโป เตเมียมีการบันทึกเภสัชตำรับฉบับแรกของ โลก ในอียิปต์โบราณมีการค้นพบหลักฐานทางเภสัชกรรมสำคัญคือ "ปาปิรุสอีเบอร์" เมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นหลักฐานการรวบรวมยาในสมัยนั้นกว่า 800 ขนาน
ในประเทศไทยมีการศึกษาเภสัชกรรมในแบบตะวันตกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ปรุงยา (ปัจจุบันคือคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)ขึ้น โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระองค์จึงได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมไทย ภายหลังการจัดตั้งกองโอสถศาลา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้งเภสัชกรรมสมาคมแห่งกรุงสยาม และการจัดตั้งองค์การเภสัชกรรมขึ้นโดยเภสัชกร ดร. ตั้ว ลพานุกรม แม้กระนั้น ความรู้ทางเภสัชกรรมไม่ได้เป็นที่สนใจของประชาชนนัก จนกระทั่งเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง การผลิตยาภายในประเทศไม่เพียงพอ จึงทำให้ศาสตร์นี้เริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนมากขึ้น และมีการจัดตั้งสถานศึกษาทางเภสัชศาสตร์เพิ่มเติมในเวลาต่อมา


* สัญลักษณ์ของเภสัชกรรมไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น